วิธีระบบ (System Approach)
ความหมายของคำว่า "ระบบ"
ระบบ (System)
คือ กลุ่มขององค์ประกอบต่างๆ ที่ทำงานร่วมกัน เพื่อจุดประสงค์อันเดียวกันและเพื่อให้เข้าใจในความหมายของคำว่าระบบที่จะต้องทำการวิเคราะห์
จึงต้องเข้าใจลักษณะของระบบก่อน
ลักษณะสำคัญของวิธีระบบ
1. เป็นการทำงานร่วมกันเป็นคณะของบุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบนั้น
ๆ
2. เป็นการแก้ปัญหาโดยการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์
3. เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสม
4. เป็นการแก้ปัญหาใหญ่
โดยแบ่งออกเป็นปัญหาย่อย ๆ
เพื่อสะดวกในการแก้ปัญหาอันจะเป็นผลให้แก้ปัญหาใหญ่ได้สำเร็จ
5. มุ่งใช้การทดลองให้เห็นจริง
6. เลือกแก้ปัญหาที่พอจะแก้ไขได้และเป็นปัญหาเร่งด่วนก่อน
องค์ประกอบของระบบ
1. สิ่งที่ป้อนเข้าไป ( Input ) หมายถึง
สิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในกระบวนการหรือโครงการต่าง ๆ เช่น ครู นักเรียน ชั้นเรียน หลักสูตร ตารางสอน
วิธีการสอน เป็นต้น
2. กระบวนการหรือการดำเนินงาน ( Process) หมายถึง การนำเอาสิ่งที่ป้อนเข้าไปมาจัดกระทำ
เพื่อให้เกิดผลบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
เช่น การสอนของครู การให้นักเรียนทำกิจกรรม เป็นต้น
3. ผลผลิตหรือการประเมินผล (Output) หมายถึง ผลที่ได้จากการกระทำในขั้นที่สอง
ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ผลงานของนักเรียน เป็นต้น
การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)
การวิเคราะห์ระบบ คือ ขั้นตอนค้นหาและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับระบบที่จะพัฒนา
ค้นหาปัญหาจากระบบงาน และวิเคราะห์วินิจฉัยปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อหาแนวทาง
พัฒนาปรับปรุง ระบบงานให้ดีขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
จากงานเดิมให้ดีขึ้นได้อย่างไร นอกจากนั้นการวิเคราะห์ยังต้องทำการศึกษาความต้องการของระบบงานใหม่ที่จะได้รับจากการพัฒนาในอนาคต
ต้องการให้ระบบงานใหม่ในภาพรวมทำงานอะไรได้บ้าง
เป็นวิธีการนำเอาผลที่ได้ (Feed Back) จากผลผลิตหรือการประเมินผล
(Evaluation) มาพิจารณาปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ฉะนั้นจะเห็นได้ว่า วิธีระบบเป็นขบวนการต่อเนื่อง และมีลักษณะเช่นเดียวกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์
ขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบ
ดร.เลห์แมน (Lehmam) ได้กล่าวถึงขั้นตอนของวิธีระบบไว้ดังนี้
1. ปัญหา (Identify Problem) คือ
การศึกษาวิเคราะห์ปัญหาที่แท้จริงในการปฏิบัติว่าคืออะไร
หาความแตกต่างระหว่างสิ่งที่ควรจะเป็นกับสิ่งที่มีอยู่
แล้วมาจัดลำดับและกำหนดระดับความสำคัญของปัญหา
2.จุดมุ่งหมาย (Objectives) การระบุจุดมุ่งหมายจะต้องชัดเจน สามารถวัดได้
และสอดคล้องกับปัญหา
3. ศึกษาข้อจำกัดต่าง
ๆ (Constraints) เป็นการศึกษาและทำรายการข้อจำกัดเกี่ยวกับทรัพยากร
(Resources) ที่มีอยู่
4. ทางเลือก (Alternatives) คือ การสร้างทางเลือกสำหรับใช้ในการแก้ปัญหา
5. การพิจารณาทางเลือกที่เหมาะสม (Selection) เป็นการประเมินหาทางเลือกที่จะส่งผลต่อจุดมุ่งหมายที่ต้องการมากที่สุด
และด้วยทุนที่น้อยที่สุด
6. การทดลองปฏิบัติ (Implementation) เป็นการนำเอาทางเลือกที่ได้ไปทดลองเพื่อดูว่าสามารถนำไปปฏิบัติได้หรือไม่
7. การประเมินผล (Evaluation) เป็นการประเมินผลการทดลองเพื่อพิจารณาดูว่าได้ผลตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้หรือไม่
8. การปรับปรุงแก้ไข (Modification) คือการนำข้อบกพร่องที่พบจากการประเมินผลมาปรับปรุงแก้ไขจนเป็นที่พอใจ
แล้วจึงนำไปใช้กับการแก้ปัญหาในระบบ
ลักษณะของระบบที่ดี
ระบบที่ดีสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (efficiency) และมีความยั่งยืน
(sustainable) ต้องมีลักษณะ 4
ประการคือ
1. มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม (interact with environment) ระบบทุก ๆ
ระบบจะมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งรอบ ๆ ตัวที่ี้ เรียกว่า "สิ่งแวดล้อม"
ซึ่งทำให้้ระบบดังกล่าวกลายเป็นระบบเปิด (Open system) คือ
ระบบจะรับปัจจัยนำเข้า (input) จากสิ่งแวดล้อม เช่น พลังงาน อาหาร
ข้อมูล แล้วเปลี่ยนแปลงปัจจัยนำเข้านี้ให้กลายเป็นผลผลิต (output) แล้วจึงส่งกลับไปให้สิ่งแวดล้อมอีกทีหนึ่ง
2. มีจุดหมายหรือเป้าประสงค์ (purpose) คือ ระบบจะต้องมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนแน่นอนสำหรับตัวของมันเอง
เช่น ระบบการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ก็มีจุดมุ่งหมายอย่างชัดเจนว่า
"เพื่อรักษาสภาพการมีชีวิตไว้ให้ได้ให้ดีที่สุด"
3. มีการรักษาสภาพตนเอง (self-regulation) ทำได้โดยการแลกเปลี่ยน input และ
output กันระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ
ของระบบหรือระบบย่อย เช่น
ระบบย่อยอาหารของร่างกายมนุษย์ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย หรือระบบย่อยต่าง ๆ
เช่น ปาก น้ำย่อย น้ำดี หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ฯลฯ
4. มีการแก้ไขตนเอง (self-correction ) เพื่อการรักษาสภาพของตนเอง เช่น
การปฏิสัมพันธ์ระหว่างร่างกายกับอากาศหนาว (สภาพแวดล้อม)
อาจจะทำให้เกิดอาการหวัดขึ้นได้
ในสถานการณ์นี้ถ้าระบบร่างกายไม่สามารถที่จะรักษาสภาพตัวเองได้อย่างดี
ร่างกายก็จะต้องผลิตภูมิคุ้มกันออกมาต้านหวัดเพื่อที่จะต่อสู้กับอาการหวัดนั้น